ยุคเสี่ยม 2498–2506 ของ สงครามเวียดนาม

การปกครอง

เสี่ยมเป็นโรมันคาทอลิกเคร่ง เป็นนักต่อต้านคอมมิวนิสต์ ชาตินิยม และอนุรักษนิยมสังคมอย่างแรงกล้า นักประวัติศาสตร์ ลืว ดวาน ฮวีญ (Luu Doan Huynh) บันทึกว่า "เสี่ยมเป็นตัวแทนของชาตินิยมแคบและสุดโต่งกอปรกับอัตตาธิปไตยและคติเห็นแก่ญาติ" ชาวเวียดนามส่วนใหญ่เป็นพุทธ และกังวลกับการกระทำอย่างการอุทิศประเทศให้พระนางมารีย์พรหมจารีของเสี่ยม

เสี่ยมเปิดฉากการรณรงค์ "ประณามคอมมิวนิสต์" เริ่มตั้งแต่ฤดูร้อนปี 2498 ระหว่างนั้นคอมมิวนิสต์และกลุ่มต่อต้านรัฐบาลอื่นถูกจับ จำคุก ทรมานหรือประหารชีวิต เขาตั้งโทษประหารชีวิตต่อกิจกรรมใด ๆ ที่ถือว่าเป็นคอมมิวนิสต์ในเดือนสิงหาคม 2499 เกเบรียล คอลโค (Gabriel Kolko) ว่าคู่แข่งต้องสงสัยของเสี่ยมถูกฆ่าประมาณ 20,000 คนระหว่างปี 2498 ถึง 2500 และเมื่อปลายปี 2501 มีนักโทษการเมืองถูกจำคุกประเมินไว้ 40,000 คน ทว่า กึนเทอร์ เลวี (Guenter Lewy) แย้งว่าตัวเลขดังกล่าวเกินจริงและว่าไม่เคยมีนักโทษทุกประเภทเกิน 35,000 คนในทั้งประเทศ

ในเดือนพฤษภาคม 2500 เสี่ยมเยือนรัฐสหรัฐสิบวัน ประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์กล่าวสนับสนุนต่อไป และมีการจัดการเดินขบวนเป็นเกียรติแก่เสี่ยมในนครนิวยอร์ก แม้ว่าเสี่ยมจะได้รับยกย่องอย่างเปิดเผย แต่ในทางลับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จอห์น ฟอสเตอร์ ดัลลัส (John Foster Dulles) ยอมรับว่าเลือกเสี่ยมเพราะไม่มีตัวเลือกที่ดีกว่า

อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โรเบิร์ต แม็กนามารา เขียนในการถกเถียงมิรู้จบ (2542) ว่า ผู้อุปภัมถ์สาธารณรัฐเวียดนามอเมริกันใหม่เขลาเรื่องวัฒนธรรมเวียดนามแทบสิ้นเชิง พวกเขาทราบภาษาหรือประวัติศาสตร์ยาวนานของประเทศเพียงเล็กน้อย มีแนวโน้มกำหนดแรงจูงใจแบบอเมริกาต่อการกระทำของเวียดนาม แม้เสี่ยมถูกเตือนแล้วว่า การเชื่อว่าการลอกวิธีการแบบตะวันตกอย่างมืดบอดจะแก้ไขปัญหาของเวียดนามได้เป็นภาพลวง

การก่อการกำเริบทางใต้ 2497–2503

ระหว่างปี 2497 และ 2500 มีความขัดแย้งขนาดใหญ่แต่ไร้ระเบียบในชนบทซึ่งรัฐบาลเสี่ยมสามารถกำราบได้ ต้นปี 2500 เวียดนามใต้มีสันติภาพเป็นครั้งแรกในรอบกว่าทศวรรษ ทว่า เมื่อกลางปี 2500 ถึง 2502 อุบัติการณ์ความรุนแรงเพิ่มขึ้นแต่รัฐบาล ""มิได้วิเคราะห์มันว่าเป็นการณรงค์ โดยถือเป็นความไม่สงบที่เจือจางเกินกว่าจะทุ่มทรัพยากรสำคัญของรัฐบาลเวียดนาม" ทว่า เมื่อต้นปี 2502 เสี่ยมถือความไม่สงบดังกล่าวเป็นการณรงค์มีระเบียบและออกกฎหมาย 10/59 ซึ่งทำให้ความรุนแรงทางการเมืองมีโทษประหารชีวิตและริบทรัพย์ มีความแตกแยกในหมู่อดีตเวียดมินห์ซึ่งเป้าหมายหลักคือการจัดการเลือกตั้งตามที่สัญญาไว้ในข้อตกลงเจนีวา นำไปสู่กิจกรรมพลการแยกจากนักคอมมิวนิสต์และนักกิจกรรมต่อต้านรัฐบาลเวียดนามอื่น

ในเดือนธันวาคม 2503 มีการก่อตั้งแนวร่วมปลดปล่อยชาติ (หรือเวียดกง) อย่างเป็นทางการโดยมุ่งหมายสร้างเอกภาพนักกิจกรรมต่อต้านรัฐบาลเวียดนามทั้งหมดซึ่งรวมถึงที่มิใช่คอมมิวนิสต์ด้วย ตามเอกสารเพนตากอน เวียดกง "เน้นความสำคัญต่อการถอนที่ปรึกษาและอิทธิพลของอเมริกา การปฏิรูปที่ดินและการเปิดเสรีรัฐบาลเวียดนาม รัฐบาลผสมและการประกาศความเป็นกลางของเวียดนาม" บ่อยครั้งผู้นำองค์การถูกปิดเป็นความลับ

เหตุผลสำหรับการคงอยู่ต่อเนื่องของแนวร่วมปลดปล่อยชาติคือความสัมพันธ์เชิงชนชั้นในชนบท ประชากรส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านในชนบทซึ่งปัญหาสำคัญคือการปฏิรูปที่ดิน เวียดมินห์มีค่าเช่าและหนี้สินน้อยกว่า และให้เช่าที่ดินคอมมูน ซึ่งส่วนมากแก่ชาวนาที่ยากจนที่สุด เสี่ยมนำเจ้าของที่ดินคืนสู่หมู่บ้าน ผู้ที่เคยทำเกษตรบนที่ดินที่ตนถือครองมาหลายปีปัจจุบันต้องคืนแก่เจ้าของที่ดินและจ่ายค่าเช่าคืนหลายปี การเก็บค่าเช่านี้กองทัพเวียดนามใต้เป็นผู้บังคับ ความแตกแยกในหมู่บ้านนี้สะท้อนสถานการณ์ที่มีอยู่ต่อฝรั่งเศส: "ร้อยละ 75 สนับสนุนเวียดกง ร้อยละ 20 พยายามเป็นกลางและร้อยละ 5 นิยมรัฐบาลอย่างแน่วแน่"

การเข้ามีส่วนของเวียดนามเหนือ

แหล่งข้อมูลเห็นไม่ตรงกันว่าเวียดนามเหนือมีบทบาทโดยตรงในการช่วยเหลือและจัดระเบียบกบฏเวียดนามใต้ก่อนปี 2503 หรือไม่ คาฮินและลิวอิสประเมินว่า

ขัดกับสมมติฐานนโยบายของสหรัฐ หลักฐานทั้งหมดที่มีอยู่แสดงว่าการรื้อฟื้นสงครามกลางเมืองในรัฐใต้ในปี 2501 ดำเนินการโดยชาวใต้เอง มิใช่การริเริ่มของฮานอย... กิจกรรมการก่อการกำเริบต่อรัฐบาลไซ่ง่อนเริ่มในรัฐใต้ภายใต้ผู้นำใต้ ไม่ใช่เป็นผลลัพธ์ของการชี้นำใด ๆ จากฮานอย ซึ่งขัดกับคำสั่งห้ามของฮานอย[31]

ดุจกัน นักประวัติศาสตร์ อาเธอร์ ชเลซิงเกอร์ จูเนียร์ กล่าวว่า "จนหลังเดือนกันยายน 2503 กว่าพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามเหนือจะอนุมัติอย่างเป็นทางการและเรียกร้องให้ปลดปล่อยภาคใต้จากจักรวรรดินิยมอเมริกา"

ในทางตรงข้าม เจมส์ โอลสันและแรนดี รอเบิตส์ประเมินว่าเวียดนามเหนืออนุญาตให้มีการก่อการกำเริบระดับต่ำในเดือนธันวาคม 2509 เพื่อตอบโต้ข้อกล่าวหาว่าเวียดนามเหนือกำลังละเมิดข้อตกลงเจนีวา เอกราชของเวียดกงจึงมีการเน้นในโฆษณาชวนเชื่อคอมมิวนิสต์

ในเดือนมีนาคม 2509 ผู้นำคอมมิวนิสต์ใต้ เล สวน เสนอแผนฟื้นฟูการก่อการกำเริบชื่อ "ถนนสู่รัฐใต้" แก่สมาชิกอื่นของคณะกรรมการบริหารสูงสุดของพรรคคอมมิวนิสต์ในกรุงฮานอย แต่เนื่องด้วยทั้งจีนและโซเวียตคัดค้านการเผชิญหน้าในขณะนั้น แผนของเล สวนจึงถูกปฏิเสธ ทว่า ผู้นำเวียดนามเหนืออนุมัติมาตรการเบื้องต้นในการฟื้นฟูการก่อการกำเริบทางใต้ในเดือนธันวาคม 2509 กำลังคอมมิวนิสต์อยู่ภายใต้โครงสร้างบังคับบัญชาเดียวที่จัดตั้งในปี 2511 พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามเหนืออนุมัติ "สงครามประชาชน" แก่รัฐใต้ในสมัยประชุมเดือนมกราคม 2512 ในเดือนพฤษภาคม มีการสถาปนากลุ่ม 559 เพื่อทำนุบำรุงและปรังปรุงเส้นทางสายโฮจิมินห์ ซึ่งขณะนั้นเป็นเส้นทางภูเขาหกเดือนผ่านประเทศลาว "ผู้รวมกลุ่มใหม่" ปี 2507 ประมาณ 500 คนถูกส่งลงใต้ตามเส้นทางระหว่างปฏิบัติการปีแรก การส่งมอบอาวุธครั้งแรกผ่านเส้นทางสำเร็จในเดือนสิงหาคม 2512 ทหารคอมมิวนิสต์ประมาณ 40,000 นายแทรกซึมเข้ารัฐใต้ระหว่างปี 2514–16

ใกล้เคียง

สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามเวียดนาม สงครามกลางเมืองอเมริกา สงครามอ่าว สงครามเกาหลี สงครามเย็น สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง สงครามแปซิฟิก สงครามครูเสด

แหล่งที่มา

WikiPedia: สงครามเวียดนาม http://books.google.com.au/books?id=qh5lffww-KsC&l... http://mailman.anu.edu.au/pipermail/hepr-vn/2008-A... http://www.awm.gov.au/encyclopedia/vietnam/statist... http://www.americanhistoryprojects.com/downloads/v... http://www.bmj.com/content/336/7659/1482 http://www.britannica.com/EBchecked/topic/628478/V... http://books.google.com/?id=Inu7AAAAIAAJ&pg=PA179 http://books.google.com/?id=MauWlUjuWNsC&pg=PA4 http://books.google.com/?id=QKgraWbb7yoC&pg=PA520 http://books.google.com/?id=QQ_nS6pTlDgC&pg=PA22